3.1_การประมวลผลข้อมูล

 การประมวลผลข้อมูล

การประมวลผลข้อมูล หมายถึง วิธีการจัดการกับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการคำนวณหรือการเปรียบเทียบลักษณะต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลนั้นอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ หรือตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน โดยการประมวลผลข้อมูลสามารถแบ่งตามอุปกรณ์ที่ใช้ได้ 3 ประเภท คือ การประมวลผลข้อมูลด้วยมือการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักรกล และการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์


 2.1  การประมวลผลข้อมูลด้วยมือ

การประมวลผลข้อมูลด้วยมือ เป็นวิธีการประเมินผลในยุคเริ่มต้นที่ใช้มาตั้งแต่ในอดีต อุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลได้แก่ กระดาษ  และเครื่องคิดเลข การประมวลผลข้อมูลในลักษณะนี้เหมาะกับข้อมูลที่มีจำนวนน้อย การคำนวณไม่ยุ่งยาก  และไม่ต้องการความเร่งด่วนในการประมวลผล

 2.2  การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักรกล

การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักรกล เป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลพี่อาศัยแรงงานมนุษย์ร่วมกับเครื่องจักรกล เช่น การคำนวณด้านบัญชีด้านเครื่องทำบัญชี นิยมใช้กับข้อมูลที่มีจำนวนไม่มากและต้องการได้ผลลัพธ์ด้วยความเร็วระดับปานกลาง โดยการประมวลผลประเภทนี้จะประมวลผลได้รวดเร็วและถูกต้องมากกว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยมือ


การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

  การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบันเนื่องจากมีความถูกต้องและรวดเร็วกว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยมือและเครื่องจักรกล โดยการประมวลผลข้อมูลประเภทนี้จะใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลัก ซึ่งสามารถรับรองข้อมูลที่มีปริมาณมากและมีความซับซ้อน อีกทั้งการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ยังทำให้ผลลัพธ์ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว

 1 ลำดับการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์  มี 3  ขั้นตอน ดังนี้

1  การนำข้อมูลเข้า  input  เป็นขั้นตอนการรับข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยผ่านทางหน่วยรับข้อมูล  input unit  เช่น การป้อนข้อมูลด้วยตัวเลขหรือตัวอักขระทางแป้นพิมพ์ การรับข้อมูลเสียงจากไมโครโฟน

2  การประมวลผล  process เป็นขั้นตอนการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนการนำเข้ามาจัดการโดยผ่านกระบวนการต่างๆเช่น การคำนวณ  การแยกประเภทข้อมูล

3  การแสดงผล  output  เป็นการนำสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลไปใช้ประโยชน์หรือแสดงผล โดยผ่านทางหน่วยแสดงผล  Output Unit  เช่น การแสดงผลทางจอภาพ การแสดงผลทางกระดาษพิมพ์


 2 วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์นั้นจำเป็นต้องผ่านการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศก่อน จึงสามารถนำสารสนเทศเหล่านั้นไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 2 วิธี ดังนี้

1  การประมวลผลแบบแบต     เป็นการประมวลผลโดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่งหรือหลายช่วงเวลา ก่อนนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผล โดยการประมวลผลจะดำเนินตามช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งการประมวลผลวิธีนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการประมวลผลได้มากกว่าการประมวลผลแบบอื่น เช่น ระบบคิดดอกเบี้ยของธนาคารทุก 3 เดือน การคิดค่าน้ำและค่าไฟทุกสิ้นเดือน โดยการประมวลผลแบบแบตมีข้อดีและข้อเสียดังนี้

  

การประมวลผลแบบแบต

ข้อดี

1 เหมาะสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ มีปริมาณข้อมูลมาก แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากข้อมูลทันที

2  ง่ายต่อการตรวจสอบ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย


ข้อเสีย

1  ข้อมูลที่ได้ไม่ทันสมัย เนื่องจากมีกำหนดระยะเวลาในการประมวลผล

2  จำเป็นต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล


การประมวลผลแบบ  interested  processing  เป็นการประมวลผลที่ไม่ต้องรอเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลและให้ผลลัพธ์ทันทีหลังหลังจากได้รับข้อมูลนำเข้า โดยการประมวลผลแบบ interactive ที่พบเห็นในปัจจุบันนี้มี 2 ประเภทดังนี้

1  ประมวลผลแบบออนไลน์

เป็นวิธีการนำข้อมูลที่รับเข้ามาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โดยตรงโดยข้อมูลที่นำเข้าไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกับคอมพิวเตอร์ที่ทำการประมวลผล เช่น การทำธุรกรรมทางการเงินด้วยเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ  ATM  ซึ่งรายการธุรกรรมทางการเงินจะถูกส่งไปประมวลผลยังคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการประมวลผลข้อมูลที่อาจอยู่ห่างไกลได้ในทันที และสามารถแสดงผลลัพธ์ยอดเงินคงเหลือในบัญชีได้ทันทีเช่นกัน

2  การประมวลผลแบบทันที  Real Time    processing  เป็นการประมวลผลที่มีวัตถุประสงค์ในการให้ผลลัพธ์ในลักษณะทันทีทันใด นิยมใช้ร่วมกับการประมวลผลแบบออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้งานแสดงความคิดเห็นได้ และหลังจากการแสดงความคิดเห็นแล้วเว็บไซต์จะแสดงผลลัพธ์ความคิดเห็นนั้นบนหน้าเว็บทันที หรือการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกับเครื่องตรวจจับควันเพื่อป้องกันไฟไหม้ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะต้องทำการประมวลผลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 


การประมวลผลแบบ interactive


ข้อดี

1  สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำเข้าไปได้ทันที

 2  ข้อมูลที่นำเข้าจะเป็นข้อมูลที่ทันสมัย


ข้อเสีย

1.มีโอกาส ผิดพลาดได้

2.การแก้ไขข้อผิดพลาดทำได้ยากกว่าการประมวลผลแบบแบต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น